สอบถามการให้บริการ / ข้อมูลต่างๆ (ถาม-ตอบ) Q&A
เทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดการสอบถาม | ผู้สอบถาม | คำตอบจากเจ้าหน้าที่ |
---|---|---|
อยากทราบข้อมูลทั่วไปในพื้นที่ เช่นข้อมูลประชากร สภาพพื้นที่ รายได้ อาชืพ รายชื่อผู้นำชุมชน สถานที่บริการห้องน้ำสำหรับนักท่องเที่ยวของชุมชน สถานที่ท่องเที่ยวในตำบล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตำบลสงเปลือย (19 พฤษภาคม 2565) | Thanut Sirikultawee | 1.สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาพโดยทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลสงเปลือย ๑. สภาพทั่วไป ๑.๑ ขนาดและที่ตั้ง เทศบาลตำบลสงเปลือย เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน ๒๕๕6 ปัจจุบันเป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 ตั้งอยู่ทิศเหนือ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างอำเภอ เขาวง ประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร ขนาดแผนที่มีพื้นที่ประมาณ ๕๒ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๓๐,๙๐๗.๕ ไร่ เทียบเป็นร้อยละ ๒๒.๒๓ ของพื้นที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศเหนือ จดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ จดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง,นาโก อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออก จดเขตอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันตก จดเขตเทศบาลตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลสงเปลือยโดยทั่วไป มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงติดภูเขา ดินเหมาะแก่การทำการเกษตรสามารถทำนาและทำไร่ได้ ลักษณะภูมิอากาศ ตำบลสงเปลือยมีลักษณะภูมิอากาศแบ่งออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม – เดือน พฤษภาคม โดยอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคม จนถึงกลางเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศจะหนาวเย็นโดยทั่วไป และจะหนาวจัดในเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม ๒. ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมภายในตำบลสงเปลือย มีถนนท้องถิ่นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านอย่างสะดวก การเดินทางจากหมู่บ้านไปในอำเภอเขาวง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนมากประชาชนสัญจรไปมาด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ และรถรับจ้าง ๓. การเมืองการปกครอง 3.๑ การเมือง เทศบาลตำบลสงเปลือยมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล (ส.ท.) ออกเป็น 2 เขตเลือกตั้ง (๑๖ หมู่บ้าน) มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบล จำนวน 12 คน มีนายกเทศมนตรี 1 คน รองนายกเทศมนตรี 2 คน เลขานุการนายก 1 คน และที่ปรึกษานายก 1 คน อยู่ในเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๖ อยู่ในเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต ๖ 3.๒ การปกครองในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลสงเปลือย ยังมีการปกครองท้องที่โดยกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครองประชาชนในหมู่บ้าน โดยมีจำนวนหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้นำ ตำแหน่ง หมู่ที่ ๑ บ้านดอนไม้คุ้ม นายทองสุข หาศิริ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ บ้านหนองแสง นายหาญชนะ นามแสง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านหนองย่าโยน นายสุรพล ศรีมุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านกุดบอด นายรังสรรค์ คนขยัน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านดอนฮูฮา นายดำรงค์ อารมณ์สวะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านนาวี นายสังวาลย์ สิมพาทย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๗ บ้านนาวี นายประจิตร คนซื่อ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ บ้านดอนสวรรค์ นายศรีซอ เรืองไชย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๙ บ้านดอนสว่าง นายอุดม บาลเพชร กำนันตำบลสงเปลือย หมู่ที่ ๑๐ บ้านอุดมศิลป์ นายแล เนื้อศรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๑ บ้านดอนจหราบ นายไสย ศรีมุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ บ้านโชคชัยพัฒนา นายสรรเสริญ นรบัติ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๓ บ้านโชคพัฒนา นายซอนมา ศรีสร้อย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๔ บ้านดอนเจ้าปู่ นางใบราญ สนทยา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๕ บ้านนาคำ นายเฉลียว ศรีหาตา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๖ บ้านหนองตากไห นายสำราญ ปรุงเรณู ผู้ใหญ่บ้าน ๔. สภาพทางสังคม 4.๑ ประชากร จากข้อมูลสถิติการทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประจำเดือนมีนาคม 2565 เทศบาลตำบลสงเปลือย มีประชากรทั้งสิ้น 6,956 คน แยกเป็นชาย ๓,456 คน หญิง ๓,500 คน จำนวนหลังคาเรือน 2,924 หลังคาเรือน ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม ๑ บ้านดอนไม้คุ้ม 294 295 589 222 ๒ บ้านหนองแสง 219 197 416 ๑๕5 ๓ บ้านหนองย่าโยน 132 152 284 ๑59 ๔ บ้านกุดบอด 221 240 461 213 ๕ บ้านดอนฮูฮา 172 186 358 167 ๖ บ้านนาวี 220 226 446 181 ๗ บ้านนาวี 483 431 914 351 ๘ บ้านดอนสวรรค์ 190 201 391 149 ๙ บ้านดอนสว่าง 169 156 325 157 ๑๐ บ้านอุดมศิลป์ 185 180 365 133 ๑๑ บ้านดอนจหราบ 137 162 299 111 ๑๒ บ้านโชคชัยพัฒนา 225 222 447 185 ๑๓ บ้านโชคพัฒนา 199 205 404 177 ๑๔ บ้านดอนเจ้าปู่ 208 225 433 233 ๑๕ บ้านนาคำ 195 207 402 159 ๑๖ บ้านหนองตากไห 207 215 422 172 รวม ๓,456 ๓,๕00 6,956 ๒,๖94 4.๒ การศึกษา ก. การศึกษาปฐมวัย จำนวน ๓ แห่ง ๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๓ แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหนองแสง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนจราบ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาวี ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓ แห่ง ๑. โรงเรียนหนองแสงถวิลราษฎร์ ๒. โรงเรียนบ้านนาวี ๓. โรงเรียนชุมชนกุดบอดวิทยาเสริม ค. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ๑. โรงเรียนพุทโธภาวนาประชาสรรค์ 4.๓ การศาสนาและวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลสงเปลือย นับถือศาสนาพุทธ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมด จึงมีวัดและสำนักสงฆ์ ในพุทธศาสนากระจายอยู่ทั่วไปในเขตตำบล มีจำนวนถึง ๕ แห่ง ๑ วัดบ้านหนองแสง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๒ ๒ วัดกกต้อง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๐ ๓ วัดบ้านนาวี ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๕ ๔ วัดวังคำ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๗ 5 วัดป่าช้าพุทโธ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๔ 4.๔ การสาธารณสุข การดำเนินการด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ของตำบลสงเปลือยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านกุดบอด จำนวน ๑ แห่ง และมีสุขศาลากาฬสินธุ์ จำนวน 16 แห่ง มุ่งเน้นงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น การสุขาภิบาล การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ พร้อมกันไปกับการสาธารณสุขมูลฐาน งานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจากการที่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในพื้นที่นี้ได้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการไปใช้บริการด้านสาธารณสุขเป็นอย่างดี เพราะหากเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็ไม่ต้องเดินทางเข้าไปในโรงพยาบาลอำเภอเขาวง ซึ่งระยะทางห่างไกลประมาณ 5 กิโลเมตร ๕. สภาพเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลสงเปลือย การผลิตภาคการเกษตรส่วนใหญ่เป็นข้าวนาปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกเป็นที่ราบ ระบบการผลิตและการตลาดไม่มีระบบที่ซับซ้อน ใช้ความเคยชินที่ผลิตมาตั้งแต่เดิม มีการผลิตหมุนเวียนไปตามภาวการณ์ตลาด ภาวะเศรษฐกิจของตำบลสงเปลือย การผลิตภาคเกษตรกรรม ยังเป็นเศรษฐกิจ หลักที่สามารถนำเงินมาสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้าว อ้อย มัน สำปะหลัง ถั่วลิสง ยางพารา พริก และขณะนี้มีผลผลิตของกลุ่มเกษตร ปลูกข้าวหอมมะลิ ปลูกข้าวนาปลัง และผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น ผ้าพื้นเมืองลายต่าง ๆ และการจักสานกระติบข้าวเหนียว ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้กับตำบลสงเปลือย และเมื่อรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเป็นกองทุนหมู่บ้าน และแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ได้ ให้สินเชื่อแก่ประชากร จึงมีภาวะเศรษฐกิจที่ดีพอสมควร ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ ๑. ลำพะยัง เป็นลำห้วยที่ไหลผ่านจากเทือกเขาภูพาน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ผ่านอำเภอเขาวง นับเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่ไหลผ่านตำบลสงเปลือย แต่ยังขาดงบประมาณในการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรให้ได้อย่างครอบคลุม ๒. ห้วยจานพิมพ์ ได้รับการพัฒนาเป็นบางส่วน เนื่องจากยังขาดงบประมาณในการพัฒนา ถ้าได้รับการพัฒนาที่ดี ชาวบ้านสามารถใช้น้ำจากห้วยจานพิมพ์เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง และใช้อุปโภค - บริโภค ได้ ๓. หนองแสง เป็นแหล่งน้ำที่ชาวบ้านสามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง และใช้น้ำในการอุปโภค แต่ยังขาดงบประมาณในการพัฒนาให้สามารถใช้เพื่อการเกษตรได้อย่างทั่วถึง ๔. อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน เป็นแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติ และเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ประชาชนในเขตพื้นที่ชลประทานยังสามารถใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนในการทำการเกษตร และระบบน้ำประปาหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นน้ำในการอุปโภค นอกจากนี้ ยังมีลำห้วยและหนองสาธารณะขนาดเล็ก ซึ่งใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เฉพาะฤดูฝน เท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณในการพัฒนาขุดลอกเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ 6. สถานที่ท่องเที่ยวและที่พักผ่อนหย่อนใจ ตำบลสงเปลือย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ควรส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้ 1. วัดวังคำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านนาวี ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ การเดินทาง จากตลาดอำเภอเขาวง มาตามถนนหมายเลข 229 ไปยังตำบลสงเปลือย และผ่านหมู่บ้านต่างๆ ไปถึงบ้านนาวี ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงวัดวังคำ ความโดดเด่นของวัดวังคำ ตัวพระอุโบสถที่เด่นเป็นสง่ากลางลานที่ล้อมรอบด้วยพระระเบียงทั้งสี่ด้าน มีเพียงประตูด้านข้างที่ทำให้สามารถติดต่อกับภายนอกได้ ยิ่งทำให้พระอุโบสถดูโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในพื้นที่ตรงนั้น ในขณะที่วิหารวัดเชียงทองนั้นจะอยู่บนลานกว้าง แต่เข้าประตูวัดไป ก็มองเห็นอาคารขนาดกะทัดรัด หลังคามุขลด 3 ชั้น สันหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า (หรือวิมาน) 9 ยอด ปีกแอ่นโค้งลงมาจนเกือบถึงพื้น สถาปัตยกรรมแบบที่เรียกว่า “ม้าต่างไหม” อย่างที่เคยเห็นทางภาคเหนือ และที่โดดเด่นที่หลวงพระบาง เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างที่เป็นเอกลักษณ์ แบบม้าบรรทุกไหม ที่ต้องกระจายน้ำหนักสัมภาระไปทั่วทั้งตัวม้า และความงามวิจิตรอยู่ที่ผนังด้านข้างมีพื้นสีดำ แต่พ่น หรือวาด ลายเป็นรูปคนทำกิจกรรมต่างๆ เป็นสีทองอร่าม สวยงาม สะดุดตา 2. อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน (อ่างวังคำ) เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านกุดสิม ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร สภาพถูมิประเทศลำพะยังที่บ้านกุดตอแก่น และที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยสายนาเวียง ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน (ห้วยวังคำ) บ้านดงหมู ตำบลคุ้มเก่า บ้านนาวี ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตพื้นที่ดังกล่าว ให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคตลอดปี นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่ตอนล่างได้อีกส่วนหนึ่ง และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดความจุ ๓.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบเสร็จ และในปี พ.ศ.๒๕๓๙ เริ่มดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อธิบดีกรมชลประทานและเลขาธิการ กปร. นำคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและกปร. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงาน ความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กรมชลประทานดำเนินการดังนี้ ๑) ให้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มาส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ของกรมป่าไม้น้อยที่สุด และหากการก่อสร้างไปทำให้พื้นที่ของกรมป่าไม้เสียหาย ให้ทำการเพาะปลูกทดแทนให้กรมป่าไม้ด้วย ๒) ระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ที่จะส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ให้พิจารณารูปแบบใหม่ที่ประหยัดกว่านี้ เนื่องจากส่งน้ำให้พื้นที่ได้เป็นพื้นที่แคบ ๆ ขนาน ไปกับลำห้วยไผ่เท่านั้น เช่นทำเป็นฝายทดน้ำแบบถูกๆ เป็นช่วงๆ ในลำห้วยไผ่และปล่อยน้ำรินๆ จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงมาเติมหน้าฝายแทน ๓) ให้ยกระดับเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในบริเวณนี้ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่เลย เมื่อยกระดับเก็บกักขึ้นแล้วหากปริมาณน้ำไม่เต็มอ่างฯ ให้พิจารณาต่อท่อผันน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาเติมให้เต็ม ถ้าสามารถต่อท่อมาได้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ณ วังไกลกังวล หัวหิน “นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ ที่กาฬสินธุ์ ลำพะยังเป็นโครงการที่ทรงถือว่าเป็น ชัยพัฒนาจริงๆ เพราะทรงเริ่มทำตั้งแต่ไม่มีน้ำ ต้องใช้น้ำค้างทำการเกษตร ไม่ได้ผลผลิตเลย ทรงเสด็จด้วยรถยนต์ทอดพระเนตร เห็นข้าวเปลือกที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวนำมาตากไว้ ไม่มีเมล็ดข้าวเลย ก็เริ่มพัฒนาลำพะยังให้มีน้ำเก็บกักน้ำได้ จนปัจจุบันราษฎรมีอาชีพ มีฐานะ จึงถือได้ว่าเป็นชัยพัฒนา” |
ตั้งคำถามใหม่
รายละเอียดการสอบถาม